วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบ o-net เรื่องซอฟต์แวร์

ข้อสอบ o-net เรื่องซอฟต์แวร์

1. ซอฟต์แวร์ คือ
ก. โปรแกรมชุดของคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
ค. โปรแกรมแก้ปัญหาทุกอย่างของมนุษย์
ง. อุปกรณ์ที่ทำหน้าเสมือนสมองกล
    เฉลย  ก
2. ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ก. ระบบปฏิบัติการดอส
ข. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์เวิร์ด
ค. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
ง. ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์
    เฉลย ข
3. ชนิดของซอฟต์แวร์ (software) มีทั้งหมดกี่ชนิด
ก. มี 1 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. มี 2 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. มี 3 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ 3.ซอฟต์แวร์บุคคล
ง. มี 4 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 3.ซอฟต์แวร์บุคคล 4. ซอฟต์แวร์ บริหาร
    เฉลย ข
4. โปรแกรมวินโดวส์ เป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด
ก. ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ง. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ
     เฉลย ก
5. ข้อใดคือความหมายของ ฮาร์ดแวร์ ?
ก. โปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ข. ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
ค. ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
ง. บุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
     เฉลย ง

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์

  ซอฟต์แวร์ระบบ  ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ 

   
วินโดวส์ 
       

     แอนดรอย
                                     
     ios
                                                  

ยูนิกซ์
                   

โอเอสทู 

ดอส

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไป

Internet Explorer
opera


chrome
Mozilla Firefox

ใบงาน เรื่องอินเตอร์เน็ต

ใบงาน เรื่องอินเตอร์เน็ต


ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.อินเตอร์เน็ต คือ 
เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย

2.จงอธิบายพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตมาพอสังเขป 
อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ตพร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

3.การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตต้องทำอย่างไรบ้าง  เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
 เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP 
 เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
4.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต่อไปนี้ 
  4.1  เครื่องคอมพิวเตอร์
       ทำหน้าที่ 
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลต่างๆไปจากอินเตอร์เน็ตเเละนำกลับมาเเสดงผล
  4.2  โมเด็ม 
       ทำหน้าที่ 
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิตอลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก ผ่านคู่สายโทรศัพท์ และจะแปลงสัญญาณกลับอีกครั้งให้กับคอมพิวเตอร์
  4.3  โทรศัพท์ 
       ทำหน้าที่ 
ในการเชื่อมต่อช่องอินเตอร์เน็ตนั้นจะต้องมีคู่สายโทรศัพท์อย่างน้อย1เลขหมายเพื่อเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปยังผู้ใหบริการอินเตอร์เน็ต
  4.4  ซอฟต์แวร์ 

       ทำหน้าที่ ติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรแกรม Browser และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

  4.5 ผู้ให้บริการอนเตอร์เน็ต

       ทำหน้าที่ เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากประเทศไทยไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ

5.อธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
   1.1 E-Mail บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล 
   1.2 FTP  สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server
   1.3 Search Engine โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ
   1.4 Blog  เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
   1.5 Chat  บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิตปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat  
6.ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถ    จะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง

  ใช้สำหรับ รับส่งข้อมูล
  ประกอบด้วย 

1  ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้
 2  ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
 3  ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์

7.การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน สามารถทำได้อย่างไเป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น 
8.จงบอกหลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine
 ปัจจุบันมีผู้ที่ต้องการเก็บรวบรวมหรือจัดทำโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆไว้เป็นฐานข้อมูลในการให้ความรู้ และง่ายต่อการการสืบค้นหาข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมากแต่สำหรับเว็บเสิร์ชเอนจิ้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในปัจจุบันคือ Google, Yahoo! Search และ MSN Search
9.จงบอกขั้นตอนการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine
 1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
 2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
 3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
 4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
 5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
 

10.การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser สามารถทำได้อย่างไร
เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการชนิดของSearch engine
11.จงยกตัวอย่างโปรแกรมสนทนาบนเครือข่ายมา 1 โปรแกรม พร้อมทั้งอธิบายการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ
Facebook 
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกัน แต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็ว 

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ด้วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็
สะดวก ขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้า มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า

 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆ
รู้กันมั้ยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก

1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่น ก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์ กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ


จอภาพ หรือ monitor เป็น อุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขาย คอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของ โน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมา ไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที

 


เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บ อุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย

 


พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 


คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวม ทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง

 


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการ ทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

 


เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด

 




ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อน ข้อมูลลงไป

 



การ์ดแสดงผล (Display Card) หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

 


เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์ เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว

 


แรม (RAM)
เป็น หน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที

 


CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive เป็นไดรฟ์ สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้ เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความ เร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ

 


CD-ROM / DVD-ROM ภาย ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ O-net

ข้อสอบ  O-Net

1.  ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่จำกัดผู้ใช้  ปัญหาดังกล่าวคือ

   
ก.  อาจมีผู้บุกรุก เข้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์      ข.  ความปลอดภัยของข้อมูล

   
ค.  ลิขสิทธิ์                                       ง.  ไวรัสคอมพิวเตอร์ทำลายข้อมูล
     เฉลย ง.  ถูกทุกข้อ

2.  สัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณชนิดใด

   
ก.  อนาล็อก               ข.  ดิจิตอล

  
ค.  ไฮบริค                  ง.  ไฟฟ้า
      จ. อิเล็กทรอนิกส์
      เฉลย ข. ดิจิตอล
3. ข้อใดจัดเป็นโปรแกรม DBMS

   
ก.  โปรแกรมภาษาโคบอล            ข.  โปรแกรมภาษาปาสคาล

  
ค.  โปรแกรมภาษาเบสิค               ง. โปรแกรมภาษาซี
  
จ..  โปรแกรม SQL
     เฉลย จ. โปรแกรม SQL


4. รายละเอียดข้อมูลที่แสดงถึงคุณสมบัติของเอ็นติตี้ คือ

   
ก.  Attribute               ข.  Relationship

  
ค.  Database               ง.  Field
  
จ.  File
     เฉลย ก. Attribute


5. กรณีที่กำหนดว่านักศึกษาแต่ละคนสามารถลงทะเบียนได้หลายวิชา ในขณะที่แต่ละวิชานักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้หลายคน   ” ความสัมพันธ์ระหว่างรายวิชาและนักศึกษาเป็นความสัมพันธ์แบบใด

   
ก.  แบบหนึ่งต่อกลุ่ม            ข.  แบบกลุ่มต่อกลุ่ม

  
ค.  แบบกลุ่มต่อหนึ่ง            ง.  แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
   จ.   ถูกทุกข้อ
     เฉลย ข. แบบกลุ่มต่อกลุ่ม


6. “ความสัมพันธ์”  ที่กล่าวถึงในข้อ 15  หมายถึง

   
ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างเอททริบิวต์      ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์

   
ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างเร็คคอร์ด      ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นติตี้
  
จ.  ความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูล
     เฉลย ง. ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นติตี้


7. ชนิดความสัมพันธ์ใดต่อไปนี้ในข้อใดไม่ถูกต้อง

     
ก.  1 : 1      ข.  1 : m    ค.  M : 1   ง.  M : n       จ.  1: n
        เฉลย ค. M:1

8. ถ้าจะกำหนดความสัมพันธ์ข้อมูลของร้านอาหารแห่งหนึ่งระหว่างรายการอาหารกับลูกค้า ควรจะกำหนด   ความสัมพันธ์ในรูปแบบใด

ก.  One to One                 ข.  One to Many     

ค.  Many to Many             ง.  Many to One   
จ. ถูกทุกข้อ
เฉลย ค. Many to Many


9.
ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล เช่น กำหนดการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคน ตรงกับบุคคลต่อไปนี้

   
ก.  Programmers            ข.  DBA

  
ค.  DBMS               ง.  Computer Analysis   

  
จ.  Data Entry
    เฉลย ง. Computer Analysis


10. ข้อใด  ไม่ใช่  ผลเสียของการทำงานด้วยระบบไฟล์

   
ก.  เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ         ข.  เขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับข้อมูลยาก

   
ค.  เกิดความขัดแย้งของข้อมูล         ง.  เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
  
จ.  ผิดทุกข้อ
     เฉลย จ. ผิดทุกข้อ




ที่มา : http://tongrod-tongrod.blogspot.com/2012/02/o-net.html

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่1

หน่วยรับข้อมูล

   เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น




เมาส์


คีย์บอร์ท


Image
สเเกนเนอร์






หน่วยประมวลผลข้อมูล






   หน่วยประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวนหรือประมวลผลคำสั่งต่างๆ
ตามโปรเเกรมที่กำหนด


CPU






หน่วยจัดเก็บข้อมูล

    คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องใช้พื้นที่การจัดเก็บและหน่วยความจำในการเรียกใช้โปรแกรมและจัดเก็บแฟ้มต่างๆ หน่วยความจำและที่เก็บข้อมูลมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีวัตถุประสงค์ต่างกันไป คนส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่อไปนี้ร่วมกัน


หน่วยความจำหลัก

   หน่วยคววามจำเเบบลบเลือนได้ คือ หากไฟดับขณะใช้งาน ข้อมูลจะหายเรียกว่า เเรม(RAM)
หน่วยความจำเเบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร เเม้ไฟจะดับข้อมูลก็ยังจะอยู่เหมือน เดิมเรียกว่า รอม (ROM)



 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช้วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ได้เเก่


ฮาร์ดดิสก์





ยูเอสบีเเฟลชไดรฟ์





หน่วยเเสดงผลข้อมูล


   เมื่อทำการประมวลผลเเล้ว คอมพิวเตอร์จะเเสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เเสดงผลข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะเเสดงผลทางจอภาพ ถ้าหากเป็นเอกสารจะเเสดงทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปเเบบเสียงก็จะเเสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น


เครื่องพิมพ์




จอภาพ





ลำโพง



คำถาม

1. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์มี 4 อย่างอะไรบ้าง
 ตอบ 1.หน่วยรับข้อมูล 2.หน่วยประมวลผลกลาง 3.หน่วยเเสดงผล4.หน่วยความจำ

2.หน่วยรับข้อมูลเข้าหมายถึงอะไร
ตอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่ง

3.หน่วยรับข้อมูลมีอุปกรณ์ อะไรบ้าง
ตอบ เเป้นพิมพ์หรือคีบอร์ด เมาส์ กล้องดิจิตัล สเเกนเนอร์ เเล้วเครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์

4.หน่วยประมวลผลกลางคืออะไร
ตอบ สมองหรือหัวใจของคอมพิวเตอร์

5.หน่วยประมวลผลกลางมีการทำงาน2หน่วย อะไรบ้าง
ตอบ 1.หน่วยรับข้อมูล 2.หน่วยคำนวณ